เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ศึกษาจังหวัดอุดรธานี ถ.สามพร้าว-รอบเมือง ต.สามพร้าว อ.เมือง จ.อุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ศึกษาจังหวัดอุดรธานี) เครือข่ายวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี และ สำนักงานประชารัฐจังหวัดอุดรธานี จัดเวที สัมมนาวิชาการ "องค์ความรู้ด้านกัญชากับการรักษาโรค(ยากัญชา)" ซึ่งมี ประธานวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และ ประชาชน จากจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน เข้าร่วมสัมมนากว่า 500 คน โดยมีวิทยากรให้ความรู้จากหลายองค์กรประกอบด้วย รศ.ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา บรรยายเรื่อง แนวทางสู่การวิจัยกัญชาเป็นยาเกษตรจังหวัดอุดรธานี “ต้นน้ำของการเพาะปลูกกัญชา" ตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม 2562 นั้นคือการรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชน
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เรื่องกฎหมาย พ.ร.บ. นิรโทษกรรมกัญชา 2562 และการจดแจ้งผู้มีกัญชาในครอบครอง พท.กฤตนัน พันธุ์อุดม กรรมการสภาแพทย์แผนไทย บรรยาย “กัญชาเป็นยา สู่การรักษา ตามศาสตร์แพทย์แผนไทย” เภสัชกร คมสัน ธีรานุรักษ์ กรรมการสภาแพทย์แผนไทย และวิทยากรครูผู้อบรม บรรยายเรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์
ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย กล่าวขอบคุณและแถลงนโยบาย “เกษตรกรต่อการเพาะปลูกกัญชา” นางสาวปิยะพร จันทรสา หัวหน้าสำนักงานกองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี "กองทุนฟื้นฟูกับการสนับสนุนปลูกกัญชา" และ ดร.ภาคภูมิ ปุผมาศ หัวหน้าประชารัฐจังหวัดอุดรธานี เรื่องการ "เตรียมความพร้อมเกษตรกรสู่การเพาะปลูกกัญชา" ซึ่งดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ผอ.ศูนย์การเรียนรู้วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อแพทย์ไทย
ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย ดร.ภาคภูมิ ปุผมาศ หัวหน้าประชารัฐจังหวัดอุดรธานี และนางสาวปิยะพร จันทรสา หัวหน้าสำนักงานกองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี ร่วมให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “การจัดการสัมมนาครั้งนี้ เพราะเห็นว่าเรื่องกัญชากำลังอยู่ในความสนใจของทุกภาคส่วน และเกี่ยวข้องในเรื่องของสุขภาพ เรื่องที่เกี่ยวกับแพทย์ ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจด้วย เพราะกัญชานอกจากจะมีคุณสมบัติทางการแพทย์ ที่ช่วยรักษาได้หลายโรคแล้ว พวกเราที่มีวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรระดับรากหญ้า ที่เป็นคนยากจน เห็นว่า กัญชาที่บอกกันว่าเป็นทองคำเขียว ที่มีราคาค่อนข้างดี ถ้าพวกเราทำได้ เราจึงประสานไปหลายหน่วยงาน ที่สามารถจะปลูกกัญชาได้ หลักก็คือ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาที่เป็นของรัฐ ที่เปิดสอนคณะแพทย์ คณะเภสัช และโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนเป็นส่วนที่จะไปเชื่อมโยงทำ MOU กับสถาบันเหล่านี้ เพราะลำพังแล้ววิสาหกิจชุมชนจะไม่สามารถปลูกกัญชาได้ จะต้องผ่านทางมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลของรัฐ เท่านั้น เราจึงจัดการสัมมนาขึ้น เพื่อให้วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกร ระดับรากหญ้าที่ยากจน ได้ทราบถึงข้อกฎหมาย ข้อปฏิบัติ ขั้นตอนต่าง ๆ ในการที่จะปลูกกัญชาได้ เพื่อที่จะไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินการ เพื่อให้ทุกอย่างต้องถูกกฎหมาย พ.ร.บ.กัญชา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งกฎหมายลูกที่ยังไม่ออกมา แต่เราจัดขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมการไว้ ซึ่งก็ยังไม่สามารถปลูกกัญชาได้ แต่ว่าเราเป็นการเตรียมความพร้อมไว้”
0
ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย กล่าวอีกว่า ถึงตอนนี้มีคนสนใจเยอะมาก แต่จะไปให้ถึงตรงนั้นได้ที่สามารถปลูกกัญชาได้นั้น อยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข อย. ที่จะอนุมัติให้พวกเรา เพราะถ้าไม่อนุมัติก็ไม่สามารถปลูกได้ คือ พวกเราต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ด้าน น.ส.จิราพร เทพราช อายุ 35 ปี อยู่ที่ 157 ม.7 บ้านบัว ต.คำนาดี อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า ตนเป็นเกษตรกรที่ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง และปลูกข้าว ซึ่งที่ผ่านมาราคาไม่ดี อยากได้พืชทางเลือกใหม่ เพื่อให้ชีวิตครอบครัวดีขึ้น ที่มาร่วมสัมมนาครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบว่า เราจะปลูกกัญชาได้อย่างไร ต้องทำอย่างไร จะเริ่มต้นอย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเราทราบเรื่องประโยชน์ของกัญชาทางยูทูป ทางโซเชียลต่าง ๆ ว่ามันดีรักษาโรคได้ เพราะตัวเองก็ป่วยเป็นมะเร็งไทรอยด์ด้วย ก็เลยยิ่งสนใจ เพราะคิดว่ากัญชาจะช่วยรักษามะเร็งของตนได้.
ข่าวจาก : ข่าวออนไลน์หนองคาย
บรรณาธิการเว็บ : มนตรี ตรีชารี
ผู้จัดการเว็บ : ชุมพล แป้นตระกูล
Webmaster : เผ่าพันธ์ สามหาดไทย
NEON MAX MEDIA
8/35 ม.อมรพันธ์นคร 8
ซ.สวนสยาม 9 แยก 3
ถ.เสรีไทย แขวง คันนายาว
เขต คันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
08-1666-1006 / 08-1455-9096
montri_tricha@hotmail.com